ภาษาฟอร์แทรน หรือ FORTRAN เป็นชื่อที่ย่อมาจาก FORmular TRANslation ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อกลางทศวรรษที่ 1950 ด้วยฝีมือของพนักงานบริษัทไอบีเอ็ม นับเป็นภาษาชั้นสูงภาษาแรกที่ได้มีการใช้แพร่หลาย จึงได้มีบัญญัติภาษาฟอร์แทรนฉบับมาตรฐานขึ้นในเวลาต่อมาโดย ANSI (American National Standard Institute) ฟอร์แทรนถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ อันเป็นงานที่มักใช้งานประมวลที่ซับซ้อน เนื่องจากฟอร์แทรนถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานทางวิทยาศาสตร์ จึงมีจุดอ่อนในเรื่องเกี่ยวกับการจักการไฟล์ นอกจากนี้จากการที่ฟอร์แทรนถูกออกแบบมาตั้งแต่สมัยที่เรายังใช้บัตรเจาะรูซึ่งมีขนาด 80 คอลัมน์ ทำให้ฟอร์แทรนมีกฎเกณฑ์ที่จะต้องเริ่มต้นและจบประโยคภายในคอลัมน์ที่กำหนด ซึ่งเป็นเรื่องน่ารำคาญพอสมควร ในการเขียนโปรแกรมในปัจจุบัน เมื่อพูดถึงโครงสร้างของภาษาฟอร์แทรนแล้วก็ไม่สามารถสู้ภาษารุ่นใหม่ๆได้
ประวัติความเป็นมา
เริ่มต้นการคิดค้นครั้งแรกเมื่อปี คศ. 1953 โดยทีมงานของบริษัท IBM เพื่อที่จะใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับ mainframe ของบริษัทต่อมาหลังจากนั้นอีก 3 ปี ได้มีการพัฒนาให้ดีขึ้น และเรียกว่า FORTRANจนกระทั่งปี คศ. 1962 ได้มีการพัฒนามาถึงรุ่น FORTRAN ซึ่งเป็นรุ่นที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันอย่างแพร่หลาย หลังจากนั้นยังคงมีการพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ จาก FORTRAN 66, FORTRAN 77 และ FORTRAN 90/95
ชุดคำสั่งภาษาฟอร์แทรน
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับการใช้งานทางด้านการคำนวณ ตัวแปลชุดคำสั่งจะทำหน้าที่อ่านชุดคำสั่งที่เป็นภาษาฟอร์แทรนที่เราเขียนขึ้น และแปลเป็นภาษาเครื่องที่ชุดคำสั่งควบคุมสามารถรับได้ คำสั่งในภาษาฟอร์แทรนแต่ละคำสั่งเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า statement ซึ่งแบ่งเป็นดังนี้
คำสั่งรับส่งข้อมูล (input-output statement)ได้แก่ READ, WRITE หรือ PRINT, FORMAT
คำสั่งคำนวณ (arithmetic statement) ได้แก่
- คำสั่งที่เป็นการคำนวณ โดยทางซ้ายมือเป็นตัวแปร ทางขวามือเป็นการคำนวณ เช่น X = A + B + 5
- คำสั่งตรรกะ (logical statement) เป็นคำสั่งประเภทควบคุม ได้แก่ คำสั่งที่ใช้ในการทดสอบ ค่าเช่น IF (A.EQ.B) GO TO 15 หรือ GO TO (1, 2, 3,4, 5) และ I เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งประกอบอื่นๆ อีก เช่น DIMENSION, DATA, CALL SUB, และ RETURN
คำสั่งรับส่งข้อมูล (input-output statement)ได้แก่ READ, WRITE หรือ PRINT, FORMAT
คำสั่งคำนวณ (arithmetic statement) ได้แก่
- คำสั่งที่เป็นการคำนวณ โดยทางซ้ายมือเป็นตัวแปร ทางขวามือเป็นการคำนวณ เช่น X = A + B + 5
- คำสั่งตรรกะ (logical statement) เป็นคำสั่งประเภทควบคุม ได้แก่ คำสั่งที่ใช้ในการทดสอบ ค่าเช่น IF (A.EQ.B) GO TO 15 หรือ GO TO (1, 2, 3,4, 5) และ I เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งประกอบอื่นๆ อีก เช่น DIMENSION, DATA, CALL SUB, และ RETURN
องค์ประกอบของภาษาฟอร์แทรน
ประกอบด้วย 3 ส่วน ด้วยกัน คือ
1. ส่วนที่ใช้แจ้งรายละเอียด (Declaration section)ส่วนนี้จะไม่มีการนำสั่งการทำงาน แต่อย่างใด มีการใช้อยู่ 2 ช่วง คือ
1.1 กำหนดชื่อของโปรแกรม (Program statement)
1.2 ชี้แจงรายละเอียดในแต่ละช่วงของโปรแกรม (Comment statement)
2. ส่วนที่ใช้สั่งการทำงาน (Execution section)ส่วนนี้เป็นการสั่งการทำงานในหลายรูปแบบ ได้แก่ การอ่าน/เขียนข้อมูล การคำนวณบวกลบคูณหาร
3. ส่วนที่ใช้หยุดการทำงาน (Termination section)ส่วนนี้เป็นการช่วยหยุดการทำงาน ประกอบด้วย 2 คำสั่ง คือ STOP และ END
ตัวอย่างของภาษา FORTRAN บางส่วน มีดังนี้
READ X
IF((X.GT.0) .AND. (X.LT.100)) THEN
PRINT *, ‘VALUE OF X IS :’,X
ELSE
PRINT * , ‘X IS NOT BETWEEN 0 AND 100’
ข้อดีของภาษาฟอร์แทรน
เป็นภาษาที่มีคำสั่งงานเน้นประสิทธิภาพด้านการคำนวณ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์รวมทั้งคำสั่งควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครื่องเมนเฟรม
ข้อจำกัดของภาษาฟอร์แทรน
เนื่องจากคำสั่งงานเหมาะสำหรับการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก จะต้องปรับใช้คำสั่งมากมาย รวมทั้งเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องประมวลผลก็ต้องเปลี่ยนรูปแบบคำสั่งทุกครั้ง
รูปตัวอย่างการเขียนโปรแกรมภาษาฟอร์แทรน
ขอบคุณที่มาจาก
http://jom-bookworm.exteen.com/20110708/fortran
https://sites.google.com/site/9fortran/home/history-1